ข้อมูลทั่วไป
- ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนวัดมาติการาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท รหัสไปรษณีย์ 17140โทรศัพท์ 0-5643 –8090 โทรสาร 0-5643 –8443 Email: Matikaram090 @ gmail.com สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- เปิดสอนตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย (อนุบาล 4ขวบ – 5 ขวบ) ถึง ระดับประถมศึกษาปีที่ 6
- มีเขตพื้นที่บริการ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมูที่ 4,5,6,7ตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
ข้อมูลด้านการบริหาร
ชื่อ-สกุลผู้บริหาร นายอำนาจ นุ่มแสง วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท (ศษ.ม) สาขา บริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 10ปี 3 เดือน
ภารกิจหลักของโรงเรียน
- จัดการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยให้กับเด็กกลุ่มอายุ4 – 6 ปี ในชั้นอนุบาล 1 – อนุบาล 2 จำนวน 4 ห้องเรียน
- จัดการศึกษาระดับประถมศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 ถึงอายุย่างเข้าปีที่ 16 อย่างทั่วถึงทุกคน ตั้งแต่ชั้น ป.1 – ป.6 จำนวน 12 ห้องเรียน
สภาพชุมชนโดยรวม ( ข้อมูลจากเทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา ปี 2562 เฉพาะ ในเขตบริการ )
โรงเรียนมีเขตบริการ 4 หมู่ คือ 4,5,6และ7 มีประชากรประมาณ 2,535 คน เป็นชาย 1,255 คน เป็นหญิง 1,280 คน ประกอบอาชีพหลัก คือทำนา อาชีพรองคือ รับจ้างทั่วไป การทำน้ำตาลโตนด ค้าขายและเลี้ยงสัตว์ มีรายได้ต่อครัวเรือน 36,000บาท ต่อปี ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดในชุมชน2 แห่ง สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ระยะทางจากโรงเรียนถึงอำเภอสรรคบุรีประมาณ 12กิโลเมตร ระยะทางจากโรงเรียนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ประมาณ23 กิโลเมตร มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน คือ ถนนลาดยาง ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์
โอกาสและข้อจำกัด(อุปสรรค) ของโรงเรียน
- โอกาส
โรงเรียนตั้งอยู่ในบริเวณเขตพื้นที่ของวัดมาติการาม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเจ้าอาวาสวัดเป็นอย่างดี อยู่ในแหล่งชุมชนที่ประชาชนให้การสนับสนุนโรงเรียนเป็นอย่างดียิ่ง โรงเรียนตั้งอยู่ใกล้กับที่ทำการเทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา จึงทำให้การประสานงานเป็นไปด้วยดี ประกอบกับชุมชนให้ความรักความศรัทธาต่อโรงเรียนและโรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าโครงการโรงเรียนประชารัฐ
รุ่นที่ 1 จึงได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณและสื่อ / นวัตกรรม ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- อุปสรรค (ข้อจำกัด)
โรงเรียนมีข้อจำกัดคือ ผู้เรียนบางส่วนขาดความอบอุ่นในครอบครัว เนื่องจากครอบครัวแตกแยกและปัญหาด้านเศรษฐกิจผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน พ่อแม่นักเรียนประมาณ ร้อยละ 40ไปทำงานต่างจังหวัดทอดทิ้งให้ลูกอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย มีปัญหาพ่อแม่หย่าร้างและผู้ปกครอง
ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
ข้อมูลความต้องการของโรงเรียนในการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยเหนือหรือหน่วยงานอื่น
- บุคลากรครูในวิชาขาดแคลน เช่น ครูคอมพิวเตอร์ ครูดนตรีนาฏศิลป์ และครูภาษาไทย
- งบประมาณจัดทำหลังคาโดมเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมของโรงเรียนและให้บริการแก่ชุมชน
- การพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษให้กับบุคลากรครูและนักเรียน
- งบประมาณในการสร้างอาคารเรียน1 หลัง แทนอาคารเก่า
ข้อมูลด้านอาคารสถานที่และที่ตั้ง
- จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 16 ห้อง แบ่งเป็น
ชั้น อนุบาล 1 จำนวน 2 ห้อง
ชั้นอนุบาล 2 จำนวน 2 ห้อง
ชั้น ป.1 – ป.6 จำนวน 12 ห้อง รวม 16 ห้อง
- ที่ตั้งโรงเรียน ตั้งในพื้นที่ดินของวัดมาติการามมีพื้นที่โรงเรียน16 ไร่ 200 ตารางวา
- โรงเรียนมีอาคารสถานที่ เพื่อดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนี้
1) อาคารเรียน จำนวน 3 หลัง คือ
– อาคารเรียน แบบ สปช.105/26 ขนาด 2 ชั้น 8 ห้องเรียน
– อาคารเรียน แบบ สปช.105/26 ปรับปรุง ขนาด 2 ชั้น 8 ห้องเรียน
– อาคารศูนย์การเรียนรู้ (แบบสร้างเอง)ขนาด 2 ชั้น 4 ห้อง (ใช้เป็นห้องพิเศษ)
2) อาคารประกอบ
-อาคารเอนกประสงค์แบบ สปช. 205/26 จำนวน 1หลัง
-ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน 4หลัง 22ห้อง
-ห้องน้ำห้องส้วมครู 3 ห้อง
-อาคารห้องสมุด 1 หลัง
-โรงอาหาร 1 หลัง
-อาคารผลิตน้ำดื่มพร้อมระบบประปา 1 หลัง
– อาคารศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 1 หลัง
3) สนามเด็กเล่น สนามกีฬา สถานที่จัดกิจกรรม
– สนามกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ บาสเกตบอล และสนามเปตอง
-ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
– สนามเด็กเล่น
วิธีการบริหารจัดการ
โรงเรียนชุมชนวัดมาติการาม แบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 งาน ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ผู้บริหารยึดหลักการบริหารแบบ ทุกคนมีส่วนร่วม โดยกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายการพัฒนาไว้อย่างชัดเจน
แนวทางการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
แนวคิดหลักที่โรงเรียนใช้ในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ไปสู่เป้าหมาย คือ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยใช้ วงจรคุณภาพ PDCA กล่าวคือ
P – Plan คือ การวางแผน
D – Do คือ การลงมือปฏิบัติตามแผน
C – Check คือ การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล
A – Action คือ การปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
ลักษณะและวิธีการดำเนินงาน
ในการดำเนินงานด้านระบบการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนดำเนินการจัดทำหลักการประกันคุณภาพ 8 ข้อ คือ
- การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
- การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
- การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
- การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- การจัดให้มีการติดตามและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
- การจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
- การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
- การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
โดยเน้นการทำงานเป็นทีม ให้บุคลากรทุกฝ่ายได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครองเครือข่าย และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบ ในการกำหนดยุทธศาสตร์ และวางแผนปฏิบัติการในแต่ละปี มีการตรวจสอบและประเมินผลงานพร้อมทั้งนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงงานให้ดีขึ้นในปีต่อไป โดยมุ่งพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีจำนวน 3มาตรฐาน
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2561
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พ.ศ. 2561
มีจำนวน 3มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ 1คุณภาพของผู้เรียน
1.1ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
1.2คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2กระบวนการบริหารและการจัดการ
มาตรฐานที่ 3กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
1) ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น
2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นและแก้ปัญหา
3) ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และพัฒนาการจากผลการสอบวัดระดับชาติ (RT, NT, O-NET)
6) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
1.2คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
1) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
2) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
4) สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
2.2มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
2.3ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย
2.4พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
3.2ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
3.3มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
3.4ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
3.5มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้